วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



จัดทำโดย

นางสาวธนธรณ์      ชัยนรินทร์    เลขที่ 1


นางสาวสุวรรณี       ภูมูล    เลขที่ 2


นางสาวกาญจนา    ภูมิฐาน     เลขที่ 3


นางสาวจิตวดี       กุลพรม      เลขที่ 4


นางสาวกมลชนก      พันธุ์สุภาพ   เลขที่ 29


นางสาวเกศสุดา          ชมนาวัง   เลขที่ 30


เสนอ


คุณครูคุณครูณัฎฐณิฐ  รัตนพนังสกุล 



บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินการจัดทำโครงงาน
จากผลการทดสอบสรุปได้ดังนี้
                สบู่สมุนไพรทั้งสามชนิดเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ปราศจากสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว  เพราะผิวหนังของคนเราต่างกันเราจึงเลือกใช้สบู่ที่ต่างชนิดกัน  จึงมีสบู่หลากหลายให้คุณได้เลือกใช้ ดังนั้น  เราจึงสามารถทำเองได้โดยใช้สมุนไพรทั้งสามชนิดโดยมีกลีเซอรีนเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม และสมุนไพรที่ใช้ก็หาได้ง่ายในท้องถิ่นราคาไม่แพงและยังให้ประโยชน์ต่อผิวเราได้ดีอีกด้วย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถนำสบู่ที่ผลิตออกมาไปขายได้
2.ผลิตสบู่เป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
3.สามารถนำมาใช้เป็นของฝากหรือของชำร่วยได้

ข้อเสนอแนะ
1.สามารถนำเอาสมุนไพรชนิดอื่นๆมาผสมเพื่อเป็นการเพิ่มสีสันให้แก่สบู่ได้
2.สบู่ที่แกะออกจากพิมพ์แล้ว ไม่ควรให้โดนลมเพราะจะทำให้ปริมาณฟองในสบู่มีจำนวนลดลง



บทที่ 4

 อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
รูปภาพวัสดุ
1) กลีเซอรีน                                                                                
 2) มะกรูด
3) ขมิ้น
4) มะขาม
5) N70
6) แผ่นใสซีน

รูปภาพขั้นตอนการเตรียม
1.             หั่นกลีเซอรีนเป็นชิ้นเล็กๆ
2.             นำสมุนไพรทั้งสามชนิด มาหั่น คั้น และกรอง


รูปภาพขั้นตอนการทำ
1.             หั่นกลีเซอรีนให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2.             นำกลีเซอรีนใส่หม้อแล้วนำไปตั้งไฟอ่อนๆ
3.             รอให้กลีเซอรีนละลายจนหมดโดยไม่ต้องคนมากเพราะจะทำให้เกิดฟอง
4.             รอจนกลีเซอรีนละลายจนหมดแล้วจึงใส่สมุนไพรที่เราได้จัดเตรียมไว้
5.             ใส่ N70 ลงไปผสม
6.             ใช้ไม้พายคนส่วนผสมให้เข้ากันโดยคนเบาๆอย่าคนแรงเพราะจะทำให้เกิดฟอง
7.             คนจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันและนำสบู่ที่ได้เทใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
8.             แล้วจึงตั้งทิ้งไว้รอให้สบู่แข็งตัวประมาณ  30  นาที
9.             เมื่อสบู่แข็งตัวดีแล้วจึงแกะออกจากแม่พิมพ์แล้วเก็บให้มิดชิดและไม่ควรให้โดนลม

10.      นำสบู่ที่ได้ใส่บรรจุภัณฑ์ที่ได้เตรียมไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม


บทที่ 3
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
 การทำสบู่สมุนไพรจากกลีเซอรีนธรรมชาตินั้น จะได้สบู่สมุนไพรหลากหลายรูปแบบและหลากหลายชนิด ก็ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ที่จะนำมาพิมพ์สบู่กับสมุนไพรชนิดต่างๆที่นำมา    ผสมกับกลีเซอรีน ทำให้ได้สบู่ตามที่เราต้องการ โดยสบู่ที่ได้มานั้นจะไม่มีสารพิษหรือสารเคมี   ใดๆที่จะตกค้างภายในร่างกายของเราได้เลย เมื่อเรานำสบู่ที่ทำมาใช้ เพราะส่วนผสมที่นำมาทำนั้น  ล้วนแล้วแต่ทำมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น

นิยามเชิงปฏิบัติการ
สบู่สมุนไพรที่ทำขึ้น ทำมาจากกลีเซอรีนที่ได้จากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน ก็เพื่อที่จะไม่ให้ มีสารพิษตกค้างในร่างกาย
               สบู่ธรรมชาติ  คือ สบู่ที่เกิดจากกระบวนการซาปอนนิฟิเคชั่น (Saponification)ของไขมันหรือน้ำมัน จากพืชและสัตว์ที่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารละลายด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นของแข็ง  ลื่น  มีฟอง  สามารถละลายและล้างออกด้วยน้ำ  สบู่ธรรมชาติไม่ถูกสกัดเอากลีเซอรีนออก  ไม่มีการเติมสารเคมี  สารเกิดฟอง (detergent) แต่อาจเติมสมุนไพร  หรือน้ำมันหอมระเหยลงไปเท่านั้น  คุณสมบัติของสบู่ คือ ใช้ทำความสะอาด  ชำระล้างสิ่งสกปรก  หรือเป็นสารช่วยลดแรงตึงผิว (surfactant)

ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ดังนี้
ไขมันหรือน้ำมัน   +   (ด่าง และ น้ำ)             สบู่   +  กลีเซอรีน 
       Fat/oil                  (lye + water)             Soap +  Glycerine


บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มะขาม

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร              Plantae
หมวด                    
Magnoliophyta
ชั้น         
                Liliopsida
อันดับ   
                Fabales
วงศ์        
                Fabaceae
สกุล       
                Tamarindus
                เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง
 แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ
20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทะาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี น้ำมะขามที่สกัดมาจากเนื้อมะขาม(มะขามเปียก)สามารถทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งแลดูสุขภาพดี เนื่องจากมะขามมีสถานะเป็นกรด จึงสามารถขจัดเซลล์ผิวเก่าเพื่อสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขมิ้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร              Plantae
หมวด                    
Magnoliophyta
ชั้น         
                Liliopsida
อันดับ   
                Zingiberales
วงศ์        
                Zingiberaceae
สกุล       
                Curcuma
ชนิด                       C. longa

                มีการศึกษาพบว่า หากให้รับประทานขมิ้นพร้อมกับอาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ และยังทำลาย ไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้ การกินอาหารที่ใส่ขมิ้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากจะใช้ แต่งกลิ่นสีให้อาหารเท่านั้น

เนื่องจากเหง้าขมิ้นมีสารที่ยับยั้งการหลั่งของกรด จึงใช้ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟื้อ และยังช่วยเจริญอาหารด้วยขมิ้นยังมีผลดีต่อผิวหนัง
 คือ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลสด ระงับเชื้อ รักษาพิษโลหิตและเสมหะ ทั้งนี้ยังใช้ขับระดูสำหรับสตรีที่มีกลิ่นเหม็น และมีเลือดจับกันเป็นก้อนสีดำ จะช่วยละลายให้เลือดแตกเป็นลิ่ม ๆ ออกมา แก้บิดเป็นมูกเลือด แก้น้ำดีพิการ ช่วยขับลมให้ผายออกมาทางทวารหนัก หรือ ให้เรอออกมาทางปาก ฝนขมิ้นแล้วหยอดตา แก้อาการตาแดง ตาเปียกแฉะ มีขี้ตาเป็นประจำในฤดูแล้ง นอกจากแก้โรคแผลในลำไส้และกระเพาะแล้วยังแก้ธาตุพิการ ท้องร่วงด้วย ถ้าหากมีอาการของไข้หวัด ขมิ้นก็สามารถใช้ดมแก้หวัด ขับเสมหะในลำคอ ผสมสมุนไพรอย่างอื่น ๆ เป็นยาคุมธาตุ แถมยังแก้อาการฟกช้ำดำเขียวตามร่างกาย ด้วยการเอาหัวสด ๆ มาตำพอกบรรเทาอาการอักเสบและเคล็ดขัดยอกไว้ด้วย นอกจากนี้ขมิ้นยังมีฤทธิ์ต้านวัณโรค แก้อาการไม่สบาย ลดไข้ รักษาไข้ผอมเหลือง บรรเทาอาการวิงเวียน ดมแก้หวัด ระงับอาการชัก รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและเบา และขมิ้นยังมีคุณสมบัติในการรักษาผิวที่แห้งกร้านให้กลับมาชุ่มชื่นยิ่งขึ้น และสามรถขจัดเซลล์ผิวเก่าเพื่อสร้างผิวใหม่ให้ดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

มะกรูด

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร              Plantae
หมวด                    
Magnoliophyta
ชั้น         
                Magnoliopsida
อันดับ   
                Sapindales
วงศ์        
                Rutaceae
สกุล       
                Citrus
ชนิด                      
C. x
สรรพคุณ

1.ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
2.ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ
3.กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4.ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร และดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
5.สามารถกำจัดสิ่งสกปรกในร่างกายทำให้ผิวมีสุขภาพดีและสะอาดยิ่งขึ้น


 กรีเซอรีน (Glycerine)

กลีเซอรีน  เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมัน เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลายจึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆได้
        ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์และน้ำได้นี่เอง จึงนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือเป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง



 N 70

        N70 คือ  Sodium laureth sulfate (SLES) เป็นสารชำระล้าง หรือ หัวเชื้อที่สามารถทำ สบู่ แชมพู ฯลฯเป็นสารที่ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่ละคายเคืองผิว N 70 เป็นชื่อการค้าของสารชำระล้างชื่อ Sodium Lauryl Ether Sulfate ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นสารชำระล้างราคาถูกที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างแทบทุกชนิด ตั้งแต่สบู่เหลวไปจนถึงน้ำยาล้างห้องน้ำ