วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
มะขาม

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร              Plantae
หมวด                    
Magnoliophyta
ชั้น         
                Liliopsida
อันดับ   
                Fabales
วงศ์        
                Fabaceae
สกุล       
                Tamarindus
                เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง
 แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ
20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทะาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี น้ำมะขามที่สกัดมาจากเนื้อมะขาม(มะขามเปียก)สามารถทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งแลดูสุขภาพดี เนื่องจากมะขามมีสถานะเป็นกรด จึงสามารถขจัดเซลล์ผิวเก่าเพื่อสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขมิ้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร              Plantae
หมวด                    
Magnoliophyta
ชั้น         
                Liliopsida
อันดับ   
                Zingiberales
วงศ์        
                Zingiberaceae
สกุล       
                Curcuma
ชนิด                       C. longa

                มีการศึกษาพบว่า หากให้รับประทานขมิ้นพร้อมกับอาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ และยังทำลาย ไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้ การกินอาหารที่ใส่ขมิ้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากจะใช้ แต่งกลิ่นสีให้อาหารเท่านั้น

เนื่องจากเหง้าขมิ้นมีสารที่ยับยั้งการหลั่งของกรด จึงใช้ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟื้อ และยังช่วยเจริญอาหารด้วยขมิ้นยังมีผลดีต่อผิวหนัง
 คือ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้อาการผื่นคัน รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลสด ระงับเชื้อ รักษาพิษโลหิตและเสมหะ ทั้งนี้ยังใช้ขับระดูสำหรับสตรีที่มีกลิ่นเหม็น และมีเลือดจับกันเป็นก้อนสีดำ จะช่วยละลายให้เลือดแตกเป็นลิ่ม ๆ ออกมา แก้บิดเป็นมูกเลือด แก้น้ำดีพิการ ช่วยขับลมให้ผายออกมาทางทวารหนัก หรือ ให้เรอออกมาทางปาก ฝนขมิ้นแล้วหยอดตา แก้อาการตาแดง ตาเปียกแฉะ มีขี้ตาเป็นประจำในฤดูแล้ง นอกจากแก้โรคแผลในลำไส้และกระเพาะแล้วยังแก้ธาตุพิการ ท้องร่วงด้วย ถ้าหากมีอาการของไข้หวัด ขมิ้นก็สามารถใช้ดมแก้หวัด ขับเสมหะในลำคอ ผสมสมุนไพรอย่างอื่น ๆ เป็นยาคุมธาตุ แถมยังแก้อาการฟกช้ำดำเขียวตามร่างกาย ด้วยการเอาหัวสด ๆ มาตำพอกบรรเทาอาการอักเสบและเคล็ดขัดยอกไว้ด้วย นอกจากนี้ขมิ้นยังมีฤทธิ์ต้านวัณโรค แก้อาการไม่สบาย ลดไข้ รักษาไข้ผอมเหลือง บรรเทาอาการวิงเวียน ดมแก้หวัด ระงับอาการชัก รักษาฟัน แก้หญิงที่ตกโลหิต รักษาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและเบา และขมิ้นยังมีคุณสมบัติในการรักษาผิวที่แห้งกร้านให้กลับมาชุ่มชื่นยิ่งขึ้น และสามรถขจัดเซลล์ผิวเก่าเพื่อสร้างผิวใหม่ให้ดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

มะกรูด

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร              Plantae
หมวด                    
Magnoliophyta
ชั้น         
                Magnoliopsida
อันดับ   
                Sapindales
วงศ์        
                Rutaceae
สกุล       
                Citrus
ชนิด                      
C. x
สรรพคุณ

1.ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
2.ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ
3.กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4.ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร และดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
5.สามารถกำจัดสิ่งสกปรกในร่างกายทำให้ผิวมีสุขภาพดีและสะอาดยิ่งขึ้น


 กรีเซอรีน (Glycerine)

กลีเซอรีน  เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมัน เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลายจึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆได้
        ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์และน้ำได้นี่เอง จึงนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือเป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง



 N 70

        N70 คือ  Sodium laureth sulfate (SLES) เป็นสารชำระล้าง หรือ หัวเชื้อที่สามารถทำ สบู่ แชมพู ฯลฯเป็นสารที่ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่ละคายเคืองผิว N 70 เป็นชื่อการค้าของสารชำระล้างชื่อ Sodium Lauryl Ether Sulfate ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นสารชำระล้างราคาถูกที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างแทบทุกชนิด ตั้งแต่สบู่เหลวไปจนถึงน้ำยาล้างห้องน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น